ธัญญาหารล้ำค่า

โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ ได้เจริญรอยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยส่งเสริมให้นักเรียนมีประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้พื้นที่ของโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ต่างๆ โดยมีแหล่งเรียนรู้ ดังนี้

ฐานการเรียนรู้ที่ 1 แปลงนาสาธิต

แปลงนาสาธิต เป็นแหล่งเรียนรู้ การทำนาข้าวที่แสดงให้เห็นวิธีการทำนา ตั้งแต่การเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว ลงมือปักดำ เก็บเกี่ยวผลผลิต การดูแลรักษานาข้าว รวมไปถึงองค์ความรู้ที่นำมาบริหารจัดการแปลงนาผืนนี้โดยใช้รูปแบบการทำนาแบบเกษตรอินทรีย์เพื่อให้ได้ข้าวที่ดีมีคุณภาพและปลอดภัยกับผู้ที่บริโภค

ข้อมูลรายละเอียดแหล่งเรียนรู้

  1. เป็นแหล่งศึกษากระบวนการพัฒนาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
  2. เป็นแหล่งผลิตข้าวปลอดสารพิษ

จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษากระบวนการพัฒนาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
  2. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การปลูกข้าวที่ปลอดสารพิษ 3. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ขั้นตอนและวิธีการทำนา

ฐานการเรียนรู้ที่ 2 โรงสีข้าว

ข้อมูลรายละเอียดแหล่งเรียนรู้

โรงสีข้าวโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ศรีสะเกษ จัดตั้งขึ้นเพื่อแปรรูปข้าวจากข้าวเปลือกเป็นข้าวสารให้นักเรียนและบุคลากรได้บริโภคข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารและปลอดภัย เนื่องจากว่าข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสีจะมีส่วนจมูกข้าวและรำข้าวติดอยู่ด้วย ทำให้ได้รับคุณค่าและวิตามินมากกว่า แต่ถ้าหากผ่านการขัดสีอย่างข้าวขาวจะทำให้สารที่เคลือบอยู่บนเมล็ดข้าว หรือแม้แต่จมูกข้าว จะเหลือเพียงแต่คาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานและข้าวไม่ขัดสีจะช่วยทำให้อยู่ท้องและอิ่มนานมากกว่าการรับประทานข้าวขาว เพราะเนื่องมาจากในข้าวไม่ขัดสีอุดมไปด้วยเส้นใย จึงทำให้ต้องใช้เวลาในการย่อยนานกว่านอกจากนี้ยังสามารถนำแกลบ และรำข้าวไปใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย

  1. เป็นแหล่งศึกษาเครื่องมือแปรรูปข้าวเปลือกให้ได้ข้าวสาร
  2. เป็นแหล่งให้ผู้เรียนมีความรู้ด้านทักษะ ประสบการณ์ ทักษะอาชีพ ระบบการบริหารจัดการ
  3. เป็นแหล่งผลิตรำข้าว เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์

จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การแปรรูปข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสาร
  2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ด้านทักษะ ประสบการณ์ ทักษะอาชีพ ระบบบริหารจัดการ
  3. เพื่อรำนำข้าวไปใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์

ฐานการเรียนรู้ที่ 3 สะเดาทะวาย

ไม้ต้น สูง ๕-๑๐ เมตร เปลือกต้นแตกเป็นร่องลึกตามยาว ยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับรูปใบหอก กว้าง ๓-๔ ซม. ยาว ๔-๘ ซม. โคนใบมนไม่เท่ากัน ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งขณะแตกใบอ่อน ดอกสีขาวนวล

สะเดาเริ่มออกดอก จะใช้เวลาประมาณ ๑-๑.๕ เดือนก็จะสามารถเก็บดอกขายได้ ยิ่งเก็บก็ยิ่งแตก หลังจากเก็บดอกชุดแรกออก ก็ให้น้ำ สะเดาก็จะแตกยอดอ่อน ให้สังเกตพอใบสะเดาเป็นใบเพสลาด ให้ใส่ปุ๋ยสูตร ๘-๒๔-๒๔ ใบสะเดาจะเริ่มแก่ หรือทิ้งใบ ก็จะเริ่มออกดอก ตามมาทันที พอเก็บดอกหมด ก็รดน้ำทำแบบเดิมจะได้ดอกตลอดปี การใส่ปุ๋ยไม่ต้องใส่มาก ให้สังเกตทรงพุ่มขนาด ๑ เมตร ให้ใส่ปุ๋ยสูตร ๘-๒๔-๒๔ เพียงต้นละ ๑ขีดเท่านั้น พุ่มขนาดใหญ่ก็ให้เพิ่มปุ๋ยไปตามขนาดของทรงพุ่ม เท่านี้ก็จะได้ดอกสะเดามันทะวายไว้กินไว้ขายได้ตลอดทั้งปี

ข้อมูลรายละเอียดแหล่งเรียนรู้

  1. เป็นแหล่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และศึกษาสะเดาทะวาย
  2. เป็นแหล่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ด้านทักษะ ประสบการณ์ ทักษะอาชีพ ในการปลูกสะเดาทะวาย
  3. เป็นแหล่งปลูกสะเดาทะวาย เพื่อนำไปใช้ในการบริโภค

จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ ศึกษาการปลูกสะเดาทะวาย
  2. เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีความรู้ด้านทักษะ ประสบการณ์ ทักษะอาชีพในการปลูกสะเดาทะวาย
  3. เพื่อนำสะเดาทะวายมาใช้ในการบริโภค

ฐานการเรียนรู้ที่ 4 ไผ่

เป็นพืชมีเนื้อไม้แข็งความสูงแล้วแต่ชนิด มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ลำต้นตรง มีข้อและปล้องชัดเจน ปล้องภายในกลวง ขนาดกว้างยาวแล้วแต่ละชนิดใบ ใบเดี่ยว ออกสลับรูปใบหอก ปลายเรียวแหลม โคนมน ขอบใบสากคาย ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง

ข้อมูลรายละเอียดแหล่งเรียนรู้

  1. เป็นแหล่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และศึกษาประโยชน์จากไผ่
  2. เป็นแหล่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ด้านทักษะ ประสบการณ์ ทักษะอาชีพ ในการปลูกไผ่
  3. เป็นแหล่งปลูกไผ่ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย

จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ ศึกษาประโยชน์จากไผ่
  2. เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีความรู้ด้านทักษะ ประสบการณ์  ทักษะอาชีพในการปลูกไผ่
  3. เพื่อนำไผ่ มาใช้ประโยชน์ตามความต้องการ